ประวัติความเป็นมาของบ้านหญ้าปล้อง
บ้านหญ้าปล้อง เป็นหมู่บ้านที่มีประวัติอันยาวนานมาเกือบ 500 ปี ตามตำนานที่คนเฒ่าคนแก่เล่าสืบต่อกันมา ซึ่งยังไม่ บันทึกไว้เป็นหลักฐาน จากการสอบถามคนแก่อายุ 60 – 70 ปีในหมู่บ้านทราบว่าแต่ก่อนคนโบราณได้มีการบันทึกไว้เหมือนกัน แต่ต่อมามีการรื้อศาลาการเปรียญ รื้อโบสถ์ รื้อกุฏิ หลักฐานต่างๆที่คนสมัยก่อนบันทึกไว้ได้สูญหายไปอาจจะเป็นเพราะว่า คนสมัยปัจจุบันไม่ทราบหรืออาจจะมองไม่เห็นความสำคัญก็ได้ จึงไม่ติดใจที่จะรักษาไว้
ชาวบ้านหญ้าปล้อง แต่เดิมเชื่อกันว่ามีเชื้อสายมาจากพวกส่วย ซึ่งอพยพมาจากบ้านจังเกาเหล่าเดิม ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอ ขุขันธ์และบ้านจังเกานั้นบางคนเรียกบ้านตะเกาเหล่าเดิม คำว่าจังเกาเป็นชื่อเครื่องประดับของสตรีมีลักษณะโค้งงอสอดไว้ในรูหูของสตรีเป็นเครื่องรางของขลังบ้านจังเกาเป็นที่รวมพวกช่างฝีมือดีทำพวกโลหะเช่นที่ใส่ปูนเคี้ยวหมาก หรือแอบนวดความจริงทำมากกว่านี้ ต่อมาที่บ้านจังเกาเหล่าเดิมมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้น การทำมาหากินฝืดเคือง จึงจำเป็นต้องอพยพไปทำมาหากินที่แหล่งอื่นบรรพบุรุษของเราจึงรวบรวมพวกพ้องพี่น้องเดียวกัน อพยพขึ้นมาทางทิศเหนือ คงจะได้ยินข่าวจากผู้ที่เดินผ่านไปบอกว่าทางบึงนครศรีลำดวนคือที่จังหวัดศรีสะเกษปัจจุบันเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์จึงได้พาญาติพี่น้องเดินทางขึ้นมา ในการอพยพนั้นถ้าที่ใดอุดมสมบูรณ์ก็จะแบ่งแยกกันตั้งบ้านเรือนตามเส้นทางที่อพยพมาส่วนพวกที่เห็นว่าที่ดินยังไม่อุดมสมบูรณ์ไม่ถูกใจก็อพยพต่อไปเรื่อย ๆ ในสมัยก่อนการเดินทางลำบากมาก ถนนไม่มีต้องเดินหลีกดงไม้ใหญ่เพราะป่าไม้มีมาก ส่วนที่มีอันตรายก็มีมากต้องระวังทุกเวลาถ้าหากพวกเราที่เป็นลูกหลานได้นึกสักนิดว่าแต่ก่อนบรรพบุรุษของเราต้องลำบากแทบเลือดตากระเด็นกว่าจะนำทางพวกเราได้มาอยู่ในที่แห่งนี้ จึงควรที่จะเทิดทูน ระลึกถึงกราบไหว้บูชาเพราะบางคนมาไม่ถึงที่หมายถูกเสือกัดตายไปก็หลายคน เป็นไข้ป่าตายไปก็จำนวนมาก ในการเดินทางครั้งนี้คาดว่าคงจะมากันหลายครอบครัวกาเดินทางมากันเป็นจำนวนมากผู้นำทางจะต้องเป็นคนที่เข็มแข็งเป็นที่เคารพของทุกคน
ชาวบ้านหญ้าปล้องนั้นเป็นคนที่แข็งแรง อดทน มีมานะ ได้เดินทางมาจนถึงโนนบ้านเก่าก่อนจะถึงที่ตั้งบ้านหญ้าปล้องปัจจุบันประมาณ 1.5 กิโลเมตรเห็นว่าที่ตรงนั้นเป็นทำเลที่เหมาะจะตั้งบ้านเรือนได้ บรรพบุรุษจากชาวบ้านจังเกาเหล่าเดิม ซึ้งเดินทางมาถึงตรงนี้จากคำเล่าต่อๆกันมาว่ามีอยู่เพียง 3 ครอบครัวเท่านั้นที่เดินทางมาถึงตรงนี้ได้ก็ได้แยกย้ายกันสร้างบ้านเรือน ชายที่แข็งแรงก็ตัดไม้มาสร้างบ้าน หญิงก็เตรียมที่และอุปกรณ์เกี่ยวกับเครื่องเรือน หุงหาอาหารที่โนนบ้านเก่ามีหนองน้ำที่อุดมสมบูรณ์ตลอดปีมีชื่อว่าหนองบุญมา บางคนบอกว่าท้าวบุญมาเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเป็นผู้ที่ทุกคนเคารพนับถือทุกคนจึงอุตส่าห์ติดตามมาอยู่ด้วยคำว่าหนองบุญมานอกจากจะว่าท้าวบุญมาเป็นคนแรกที่นำชาวบ้านมาก่อตั้งแล้วบางคนบอกว่าน่าจะไม่ใช่เพราะคำว่าบุญมาน่าจะหมายถึงความว่าบุญอุ้มมา หรือบุญอุ้มให้พวกเขาได้มาอยู่ที่นี่ ก็ว่ากันไปใครรู้มากกว่านี้ก็บอกผ่านมาด้วยจะได้ขยายความให้เพราะชาวบ้านเชื่อว่าคนมีบุญเท่านั้นจึงเดินทางมาถึงที่นี้ได้
อย่างไรก็ตาม ชาวบ้านอยู่ที่นี่ไม่ได้อีกแล้ว เพราะได้กล่าวแต่ตอนต้นแล้วว่าที่บริเวณนี้เป็นดงเสือ ท้าวบุญมาบอกว่าสู้กับสิ่งอื่นพอสู้ได้แต่สู้กับเสือต้องขอยอม
ท้าวบุญมาจึงปรึกษาลูกบ้านทุกคนว่าพวกเราเห็นจะอยู่ที่นี่ไม่ได้อีกแล้วจึงชวนกันอพยพขึ้นไปทางเหนืออีก พอเดินมาได้ประมาณ 1.5 กิโลเมตรก็มาพบหนองน้ำที่มีต้นหญ้าขึ้นปกคลุม มีน้ำอุดมสมบูรณ์ มีต้นไม้รกหนามีต้นยาง ต้นตะเคียน ต้นยูง เหมาะที่จะนำมาสร้างเป็นบ้านเรือนได้เป็นอย่างดี และมีหนองน้ำที่จะใช้เป็นแหล่งทำมาหากิน ใช้ดื่มกินและบริโภคเป็นทำเลที่เหมาะสมทุกประการสำหรับหนองน้ำที่พบมีต้นหญ้าชนิดหนึ่งขึ้นอยู่เป็นจำนวนมากเกิดเป็นทิวแถวมองดูเขียวชอุ่มหญ้าชนิดนี้เรียกว่า “ หญ้าปล้อง “ ลักษณะของต้นหญ้าชนิดนี้คล้ายต้นตระไคร้ที่เกิดตามป่า ลำต้นเป็นปล้องๆ ตรงข้อของต้นหญ้ามีข้อเป็นปมโตคล้ายกำปั้นทุกข้อ ต้นหญ้าสวยงามและมีมากลำต้นสูงประมาณ 1 – 2 เมตรท้าวบุญมาหรือบุญอุ้มมา มองเห็นว่าที่แห่งนี้เป็นทำเลที่ดีมากเหมาะสมด้วยประการทั้งปวงเลยเรียกชื่อหนองนั้นว่าหนองหญ้าปล้องแต่นั้นมา จึงพาครอบครัวที่อพยพมาจากโนนบ้านเก่า 3 ครอบครัวความจริงจะมีมากว่านี้เพราะมาอยู่ที่โนบ้านเก่าปีเศษครอบครัวคงจะเพิ่มมากขึ้นกว่านี้ สมัยก่อนคนโบราณเชื่อไสยศาสตร์ นับถือเทวดาเจ้าป่าเจ้าเขาเมื่อมาพบทำเลที่อุดมบูรณ์ก็จะมีการทำพิธีหรือเสี่ยงทาย ก็จัดเครื่องคาวหวาน หมากพลูบุหรี่เลี้ยงเจ้าที่เพื่อบอกกล่าวและขออนุญาตนำลูกหลานมาขออยู่อาศัย อย่าได้มารังควานขอให้ช่วยปกปักรักษาให้ทุกคนอยู่เย็นเป็นสุข
หลังจากที่ได้ทำพิธีแล้วในคืนนั้นท้าวบุญมาได้ฝันไปว่ามีเทวดามาบอกว่าอนุญาตให้ทุกคนอยู่อาศัยได้ แต่ขอให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติตนในสิ่งที่ดี มีศีลธรรมอย่าทำร้ายหรือรังแกสัตว์แล้วทุกคนก็จะอยู่อย่างมีความสุข หลังจากวันนั้นต่อมาท้าวบุญมาได้นำความฝันมาเล่าให้ทุกคนฟังและแจ้งให้ทุกคนจับจองหาที่อยู่ จัดสร้างบ้านเรือนให้เป็นหลักเป็นฐานสืบต่อไปและตั้งใจว่าจะไม่ยอมอพยพไปที่ใดอีกเพระทำให้ลูกหลานพี่น้องที่มาด้วยกันได้รับความลำบากมาก
ที่ตั้งหนองหญ้าปล้อง ปัจจุบันอยู่ทางทิศเหนือของหมู่บ้าน และคงจะเป็นเพราะเหตุนี้เองจึงตั้งชื่อบ้านว่า “บ้านหนองหญ้าปล้อง” แต่ต่อมาตอนหลังเห็นว่าเป็นชื่อที่ยาวเกินไปจึงเปลี่ยน ให้สั้นเข้าเรียกเป็น “บ้านหญ้าปล้อง” จนถึงปัจจุบันนี้
ประวัติโรงเรียนบ้านหญ้าปล้อง
โรงเรียนบ้านหญ้าปล้องก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 8 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2477 โดยนายทอง จุนนารัตน์ ศึกษาธิการอำเภอเมืองศรีสะเกษ เป็นผู้ก่อตั้ง และใช้ชื่อว่า “โรงเรียนประชาบาลตำบลหญ้าปล้อง ๒” ( วัดบ้านหญ้าปล้อง ) โดยแต่งตั้งนายหนู ภูริพัฒน์ เป็นครูใหญ่คนแรก มีนายเครื่อง ยาธรรม เป็นครูผู้สอน มีหน้าที่จัดการเรียนการสอน มีนักเรียนในวันจัดตั้งเป็นชาย 54 คน หญิง 25 คน รวมนักเรียน 79 คน โรงเรียนรับงบประมาณจากเงินงบประมาณช่วยการศึกษาประชาบาลบำรุง
การจัดการเรียนการสอน แบ่งออกเป็น 3 ชั้นคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่1 – 3 การบริหารโรงเรียนได้พัฒนาขึ้นเป็นลำดับ จำนวนห้องเรียนเพิ่มขึ้น จำนวนนักเรียนเพิ่มขึ้น ตลอดระยะเวลา 77 ปีที่ก่อตั้งมาจนถึงปัจจุบันมีผู้บริหารโรงเรียนทั้งสิ้น 17 คนโดยปัจจุบันมีผู้บริหารโรงเรียนคือ นายเอกอมร ใจจง ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโรงเรียน โดยรับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ. 2547
ปีการศึกษา 2537 โรงเรียนบ้านหญ้าปล้องได้รับการอนุมัติจากทางราชการให้เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาเป็นรุ่นแรกของจังหวัดศรีสะเกษ โดยเปิดทำการเรียนการสอนตั้งแต่ระดับชั้น อนุบาลปีที่ 1 – ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ปัจจุบันมีนักเรียนจำนวนทั้งสิ้น 154 คน เป็นนักเรียนชาย 99 คน นักเรียนหญิง 80 คน มีข้าราชการครูและบุคลากรจำนวนทั้งสิ้น 25 คน
แยกเป็น ผู้อำนวยการโรงเรียน 1 คน ข้าราชการครู 13 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน ครูธุรการ 1 คน นักศึกษาฝึกประสบการณ์ 5 คน นักการภารโรง 1 คน แม่ครัว 1 คน
ประวัติโรงเรียนบ้านหญ้าปล้องเลือกเอาตามความเหมาะสมครับ
โรงเรียนบ้านหญ้าปล้อง ตั้งเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2477 สถานที่ตั้ง หมู่ที่ 1 บ้านหญ้าปล้อง ตำบลหญ้าปล้อง อ. เมืองศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ 33000 มีเนื้อที่ 8 ไร่ – งาน 93 ตารางวา ประเภทโรงเรียน เป็นโรงเรียนสหศึกษา ระดับการศึกษาที่เปิดสอน เปิดสอน 3 ระดับ คือ
– ระดับก่อนประถมศึกษา
– ระดับประถมศึกษา
– ระดับมัธยมศึกษา
ผู้อำนวยการโรงเรียน คือ นายเอกอมร ใจจง
มีครู อาจารย์ จำนวน 13 คน พนักงานราชการ 1 คน ครูธุรการ จำนวน 1 คน ครูอัตราจ้าง จำนวน 2 คน มีนักเรียนทั้งสิ้น จำนวน 154 คน
สภาพชุมชนโดยรอบ
โดยที่โรงเรียนบ้านหญ้าปล้อง เป็นโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา (ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น) จึงมีพื้นที่บริการครอบคลุมทั้งตำบลหญ้าปล้อง ดังนี้
ที่ตั้ง อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดเขต ตำบลคูซอด
ทิศตะวันออก ติดเขต ตำบลน้ำคำ
ทิศตะวันตก ติดเขต ตำบลหนองไผ่
ทิศใต้ ติดเขต เทศบาลเมืองศรีสะเกษ
เขตพื้นที่บริการ ตำบลหญ้าปล้องมีเนื้อที่ทั้งหมด 41.54 ตารางกิโลเมตร จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด 8 หมู่บ้าน ได้แก่
ที่ | ชื่อบ้าน | หมู่ที่ | ชื่อผู้ใหญ่บ้าน | ประชากร(คน) | ครัวเรือน(หลัง) |
1 | บ้านหญ้าปล้อง | 1 | นายประหยัด พงศ์พีระ | 985 | 219 |
2 | บ้านหญ้าปล้อง | 2 | นายประดิษฐ์ ศุภเลิศ | 986 | 199 |
3 | บ้านสร้างเรือง | 3 | นายสมาน บุญหวาน | 302 | 68 |
4 | บ้านวังไฮ | 4 | นายสุบิน บุญเชิด | 462 | 162 |
5 | บ้านเอก | 5 | นายวิเชียร ศิลาโชติ (กำนัน ) | 812 | 190 |
6 | บ้านโนนหล่อ | 6 | นายเสริมชัย อินทรบุตร | 490 | 131 |
7 | บ้านโนนแย้ | 7 | นายสำ น้อยมิ่ง | 872 | 230 |
8 | บ้านโนนสำนัก | 8 | นางบุญจิรา พิทักษา | 949 | 426 |
รวม | 5,858 | 1,625 |
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตำบลหญ้าปล้อง มีสภาพพื้นที่เป็นที่ราบ ทางด้านทิศใต้ติดกับลำห้วยสำราญ และมีสภาพที่ดินเป็นดินร่วนปนทราย
ระหว่างโรงเรียนบ้านหญ้าปล้องและหมู่บ้านหญ้าปล้อง จะมีคลองอีสานเขียวไหลผ่านซึ่งจะมีน้ำขังเกือบตลอดทั้งปี
สถานที่สำคัญในเขตตำบลหญ้าปล้อง คือ วัดสร้างเรือง ( วัดพระธาตุเรืองรอง ) โดยมีพระครูวิบูลธรรมภาณ ( หลวงปู่ธัมมา พิทักษา ) เจ้าอาวาสวัดอมรทายิการาม ร่วมกับชาวบ้านสร้างเรืองเป็นผู้ตั้งขึ้น ซึ่งเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดศรีสะเกษ และภาคอีสานตอนล่าง ตั้งอยู่บ้านสร้างเรือง หมู่ที่ 3 ตำบลหญ้าปล้อง อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ ซึ่งแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติมาเที่ยวชมเป็นจำนวนมาก และนักเรียนโรงเรียนบ้านหญ้าปล้องก็มีโครงการมัคคุเทศก์น้อยนำนักท่องเที่ยวชมพระธาตุในวันหยุดอีกด้วย
งบประมาณที่โรงเรียนได้รับ 3 ปีงบประมาณย้อนหลัง
ที่ | ปีงบประมาณ | รายรับ |
1 | 2551 | |
2 | 2552 | |
3 | 2553 |
รายได้เฉลี่ย / คน / ปี ของประชากรตำบลหญ้าปล้อง ปี พ.ศ.2558 เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย
ลำดับของตำบล | ชื่อหมู่บ้าน | รายได้เฉลี่ย / คน / ปี (บาท) |
1 | หมู่ที่ 8 บ้านโนนสำนัก | 47,549.56 |
2 | หมู่ที่ 1 บ้านหญ้าปล้อง | 45,329.35 |
3 | หมู่ที่ 2 บ้านหญ้าปล้อง | 44,458.91 |
4 | หมู่ที่ 6 บ้านโนนหล่อ | 40,936.06 |
5 | หมู่ที่ 4 บ้านวังไฮ | 38,611.26 |
6 | หมู่ที่ 7 บ้านโนนแย้ | 38,058.13 |
7 | หมู่ที่ 3 บ้านสร้างเรือง | 37,595.64 |
8 | หมู่ที่ 5 บ้านเอก | 34,782.53 |
เฉลี่ยรายได้ / คน / ปี ของตำบล | 40,915.18 |
ร้อยละของผู้ปกครองส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับ
ต่ำกว่ามัธยมต้น | มัธยมต้น | มัธยมปลายหรือเทียบเท่า | ต่ำกว่าปริญญาตรี | ปริญญาตรี | สูงกว่าปริญญาตรี |
83.26 | 8.41 | 5.72 | 97.39 | 2.61 | 0.00 |
ผู้ปกครองส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ (ให้ใส่เครื่องหมายถูกในช่องว่าง)
อาชีพ | อาชีพของผู้ปกครอง | ||||
น้อยกว่าร้อยละ 20 | ร้อยละ 20-40 | ร้อยละ 41-60 | ร้อยละ 61-80 | มากกว่าร้อยละ 80 | |
รับราชการ | / | ||||
ค้าขาย | / | ||||
เกษตรกร | / | ||||
รับจ้าง | / | ||||
ไม่มีอาชีพ | / | ||||
อื่น…………. |
ผู้ปกครองส่วนใหญ่นับถือศาสนา (ให้ใส่เครื่องหมายถูกในช่องว่าง)
ศาสนา | ศาสนาที่ผู้ปกครองนับถือ | |||||
ไม่มี | น้อยกว่าร้อยละ 20 | ร้อยละ 20-40 | ร้อยละ 41-60 | ร้อยละ 61-80 | มากกว่าร้อยละ 80 | |
พุทธ | / | |||||
คริสต์ | / | |||||
อิสลาม | / | |||||
ฮินดู | / | |||||
ซิกซ์ | / | |||||
อื่นๆ | / |
โอกาสและข้อจำกัดของโรงเรียน
รายการ | |
โอกาส(ดี/มีมาก) | ข้อจำกัด(ด้อย/ไม่พอ) |
1. อยู่ใกล้แหล่งเรียนรู้ 1.1 วัดพระโต วัดพระธาตุเรืองรอง วัดสระกำแพงใหญ่ 1.2 โรงพยาบาลชุมชนบ้านสร้างเรือง 1.3 ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหญ้าปล้อง 1.4 สถานีวิทยุ ชุมชนคนหญ้าปล้อง 1.5 สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ศรีสะเกษ 1.6 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 29 1.7 สถานีพืชสวนจังหวัดศรีสะเกษ 1.8 ปราสาทพระวิหาร | แหล่งเรียนรู้ใกล้ตัวมีมากมายก็จริง แต่งบประมาณที่จะพานักเรียนไปยังแหล่งเรียนรู้มีอยู่อย่างจำกัด แม้ว่าตั้งแต่การศึกษา 2552 เป็นต้นไป รัฐบาลมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปีอย่างมีคุณภาพ โอกาสที่จะพานักเรียนไปแหล่งเรียนรู้เหล่านั้นมีมากขึ้น แต่ก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี |